ผู้เขียน หัวข้อ: การต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์  (อ่าน 2449 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Auto Car

  • Administrator
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 5024
    • ดูรายละเอียด
การต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์
« เมื่อ: 13 กรกฎาคม 2020, 08:01:26 »
เรื่อง การต่อหลอดเรืองแสงหรือหลอดฟลูออเรสเซนต์

 

การปฏิบัติงานไฟฟ้า

        งานไฟฟ้าเป็นงานช่างในบ้านที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในยุคปัจจุบันนี้มาก เพราะการนำเอา พลังงานไฟฟ้ามาใช้ในรูปแบบต่างๆ เช่น พลังงานกล พลังงานความร้อน พลังงานแสงสว่าง พลังงานเสียง ทำให้มนุษย์ มีความสะดวกสบายในการประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิตประจำวัน
      ขอบข่ายของงานไฟฟ้าเป็นการนำความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับงานไฟฟ้า โดยใช้ทักษะกระบวนการทำงาน ไฟฟ้ามาปฏิบัติเกี่ยวกับการเดินสายไฟฟ้า การต่อวงจรไฟฟ้า สวิตช์ ปลั๊ก ดวงโคมส่องสว่าง การซ่อมแซมเครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้า การเลือกซื้อเครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัยประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติงานไฟฟ้า มีดังนี้
        1.  สามารถใช้เครื่องมืองานช่างไฟฟ้าได้ถูกต้อง ถูกวิธี และปลอดภัย
        2.  สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับงานไฟฟ้าภายใน ภายนอกบ้าน
        3.  สามารถสร้างหรือผลิต ซ่อมแซมปรับปรุงแก้ไขชิ้นงาน เครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้าได้ถูกต้องและปลอดภัย
        4.  ส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องราวของเทคโนโลยี และเสริมสร้างการใช้ไฟฟ้าได้อย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
        5.  ช่วยลดปัญหาการเกิดอัคคีภัยจากไฟฟ้าลัดวงจร
        6.  เป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ เพื่อการประกอบอาชีพต่อไป
 
ตัวอย่างการปฏิบัติงานไฟฟ้าในบ้าน
     การซ่อมดวงโคมส่องสว่าง (หลอดฟลูออเรสเซนต์)
        ปัญหาหรือความต้องการ คือ เปิดสวิตช์แล้วดวงโคมส่องสว่าง (หลอดฟลูออเรสเซนต์) ไม่ส่องสว่าง
การวิเคราะห์งาน
1.  ตรวจสอบระบบไฟฟ้าทั้งระบบ ได้แก่ แผงเมนสวิตช์ สวิตช์เปิด-ปิดและระบบสายไฟฟ้า และองค์ประกอบของดวงโคมส่องสว่าง (หลอดฟลูออเรสเซนต์)
2.  สรุปสาเหตุ คือ ดวงโคมส่องสว่าง (หลอดฟลูออเรสเซนต์) ไม่ส่องสว่าง   เพราะในระบบใดระบบหนึ่งเกิดการบกพร่อง
3.  ประเมินทางเลือก คือ ตัดสินใจซ่อมดวงโคมส่องสว่าง (หลอดฟลูออเรสเซนต์) ด้วยตนเอง
 
 
4-21                                                       การวางแผนการทำงาน
1.  ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการซ่อมดวงโคมส่องสว่าง
    (หลอดฟลูออเรสเซนต์)
2.  จัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ เช่น ไขควงเช็คไฟ ไขควงปากแฉก ไขควงปากแบน มีดคัตเตอร์ คีมปอกสายไฟฟ้า เป็นต้น
3.  ศึกษาวิธีการซ่อมดวงโคมส่องสว่าง (หลอดฟลูออเรสเซนต์) จากคู่มือ

 
4-22                                                         ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
1.  ตรวจสอบแผงเมนสวิตช์ สายไฟฟ้าเข้า-ออก
2.  ตรวจสอบสวิตช์เปิด-ปิดของดวงโคมส่องสว่าง (หลอดฟลูออเรสเซนต์) ด้วยไขควงเช็คไฟ ปรากฏว่ามีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน
4-243.  ตรวจสอบองค์ประกอบของดวงโคมส่องสว่าง (หลอดฟลูออเรสเซนต์) ได้แก่ บัลลาสต์สตาร์ตเตอร์ และตัวดวงโคมส่องสว่าง (หลอดฟลูออเรสเซนต์) ถ้าที่ขั้วสตาร์ตเตอร์ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน แสดงว่าสตาร์ตเตอร์เสีย
4-234.  ถอดสตาร์ตเตอร์ออกจากช่องสตาร์ตเตอร์ โดยการหมุนทวนเข็มนาฬิกา และนำสตาร์ตเตอร์ตัวใหม่ใส่เข้าแทนที่ โดยหมุนตาม    เข็มนาฬิกา ทดสอบการไหลของกระแสไฟฟ้า ถ้ากระแสไฟฟ้าไหลตามปกติ แต่หลอดไฟยังไม่สว่างให้เปลี่ยนหลอดไฟใหม่
5.  ประเมินผลการทำงาน ทดลองเปิดสวิตช์ไฟฟ้าของดวงโคมส่องสว่าง (หลอดฟลูออเรสเซนต์) หลอดไฟมีแสงสว่าง
6.  จัดเก็บเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ และทำความสะอาดบริเวณสถานที่ ปฏิบัติงาน

แหล่งที่มา You are not allowed to view links. Register or Login
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 กรกฎาคม 2020, 08:03:24 โดย Auto Car »

ออฟไลน์ Auto Car

  • Administrator
  • Hero Member
  • *
  • กระทู้: 5024
    • ดูรายละเอียด
Re: การต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 13 กรกฎาคม 2020, 08:01:37 »
สาเหตุและวิธีแก้ไขในกรณีที่ดวงโคม (หลอดฟลูออเรสเซนต์)ไม่ส่องสว่าง

1. อาการหลอดสั่น หรือกระพริบตลอดเวลา เกิดจาก

•ตัว starter เสีย วิธีทดสอบก็คือให้ถอด starter ออกขณะที่หลอดติดอยู่ ถ้าหลอดหยุดกระพริบแสดงว่า start เสีย เปลี่ยนใหม่ได้เลย

•หลอดเพิ่งซื้อมาใหม่ ทำไมถึงกระพริบ?สาเหตุเกิดจากหลอดใหม่เกินไปครับ ก๊าซที่อยู่ในหลอดอาจจะยังไม่คงที่ ให้ลองเปิดทิ้งไว้สัก 15-30 นาทีก็ควรจะหายครับ

•แรงดันไฟฟ้าต่ำเกินไป เมื่อไฟตก หรือมีในพื้นที่มีการจ่ายกระแสไฟไม่ถึง 200V จะทำให้หลอดกระพริบได้ วิธีแก้คือให้ติดหม้อแปลงไฟ หรือ Line Stabilizer ที่คอยรักษาแรงดันไฟให้คงที่ ก็จะช่วยให้หลอดหายกระพริบได้ นอกจากนี้ ยังช่วยยืดอายุของอุปกรณ์ไฟฟ้าของคุณด้วย เหมาะสำหรับเขตที่มีไฟตกหรือไฟดับบ่อยๆ

2. ใช้เวลานานกว่าหลอดจะสว่าง เกิดจาก

•Starter เสื่อมหรือเสีย ให้ลองเอา starter จากหลอดอื่นมาลองเปลี่ยนดู

•หลอดเสื่อม ให้สังเกตุที่ไส้หลอด (ตรงปลายทั้ง 2 ข้าง) ถ้าดำมากๆก็ควรจะเปลี่ยนได้แล้ว

•แรงดันไฟต่ำ ลองใช้ meter วัดไฟดูว่ากระแสคงที่ 200~220V หรือไม่

3. มีเสียงดังหึ่งๆเวลาเปิด เกิดจาก

•สาเหตุส่วนใหญ่จะมาจาก ballast เพราะเป็นเสียงจากแกนแม่เหล็กในตัว ballast สั่น

4. ขั้วหลอดดำเร็วกว่าปกติ

•ตัว ballast จ่ายกระแสไฟมีปัญหา ลองเปลี่ยน ballast ดู หรือใช้ ballast electronic ก็ได้ ราคาแพงกว่าไม่มาก แต่คุณภาพดีกว่าเยอะครับ

 

หลอดไม่ติด - ไม่มีไฟเข้าหลอด

- ขาหลอดหรือขั้วสต็าร์ทเตอร์หลอม

- สตาร์ทเตอร์เสื่อม

- หลอดเสื่อมคุณภาพ

- บัลลาสต์เสื่อม - ตรวจสอบจุดต่อของวงจร

- ขันยึดสกรูให้แน่น

- เปลี่ยนอุปกรณ์

- เปลี่ยนอุปกรณ์

- เปลี่ยนอุปกรณ์

หลอดไฟฟ้าให้แสงสว่างไม่สม่ำเสมอ - แรงดันไฟฟ้าตก

- หลอดเสื่อมคุณภาพ

- บัลลาสต์เสื่อมคุณภาพ - ไม่ใช้กระแสไฟฟ้าพร้อมกันหลาย ๆ จุด

- เปลี่ยนอุปกรณ์

มีเสียงครางขณะเปิดไฟ - ติดตั้งบาลาสต์ไม่แน่น

- อุปกรณ์ในตัวบัลลาสต์หลวม

- ขายึดหลอดหลวม

- บัลลาสต์เสื่อมคุณภาพ - ขันยึดสกรูตามจุดต่าง ๆ

- ขันยึดสกรูตามจุดต่าง ๆ

- ขันยึดสกรูตามจุดต่าง ๆ

- เปลี่ยนอุปกรณ์

หลอดติด ๆ ดับ ๆ - ขาหลอดหลวม

- สตาร์ทเตอร์เสีย

- บัลลาสต์เสียหรือใช้ผิดขนาด

- หลอดเสื่อมคุณภาพ

- แรงดันไฟตก - ขันสกรูยึดขาหลอดให้แน่น

- เปลี่ยนอุปกรณ์

- เปลี่ยนอุปกรณ์

- เปลี่ยนอุปกรณ์

- ไม่ใช้กระแสไฟฟ้าพร้อมกันหลายจุด

หลอดขาดทันทีเมื่อเปิดสวิทช์ - ต่อวงจรผิด

- ใช้บัลลาสต์ผิดขนาดของหลอด

- แรงดันไฟฟ้าสูงกว่าขนาดของหลอด - ตรวจสอบการต่อวงจร

- เปลี่ยนบัลลาสต์ให้ถูกต้อง

- เปลี่ยนหลอดให้ถูกต้องกับแรงดันไฟฟ้า

หลอดติดช้า - หลอดเสื่อม

- บัลลาสต์หรือสตาร์ทเตอร์เสื่อม             - ขันยึดสกรูที่ขาหลอดให้แน่น

- กระแสไฟฟ้าตก

- ขาหลอดหลวม - เปลี่ยนอุปกรณ์

- เปลี่ยนอุปกรณ์

- ไม่ใช้กระแสไฟพร้อมกันหลาย ๆจุด

หลอดเสีย หรือหลอดเสื่อมเร็ว - ปิดเปิด บ่อยเกินไป

- สตาร์ทเตอร์เสื่อม                  - ใช้ไฟฟ้าเมื่อจำเป็น

- ใช้บัลลาสต์ผิดขนาด               - เปลี่ยนอุปกรณ์

- บัลลาสต์เสื่อมคุณภาพ            - ทำความสะอาดหรือเปลี่ยนสวิทช์

- หน้าสัมผัสสวิทช์สกปรก – ใช้ไฟฟ้าเมื่อจำเป็น

 

สรุป

            หลอดฟลูออเรสเซนต์(Fluorescent  Lamp) เป็นหลอดไฟฟ้าที่นิยมใช้กันทั่วไป เพราะว่าให้แสงสว่างนวลสบายตา และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน กว่าหลอดไส้ถึง 8 เท่า ลักษณะของหลอดเป็นรูปทรงกระบอก รูปวงกลมและตัวยู มีขนาดอัตราทนกำลัง 10 วัตต์ 20 วัตต์ 32 วัตต์และ 40 วัตต์เป็นต้น ขนาด 40 วัตต์มีอายุการใช้งาน 8,000 ถึง 12,000 ชั่วโมง ให้ความสว่างของแสงประมาณ 3,100 ลูเมน