เรื่อง การต่อหลอดเรืองแสงหรือหลอดฟลูออเรสเซนต์
การปฏิบัติงานไฟฟ้า งานไฟฟ้าเป็นงานช่างในบ้านที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในยุคปัจจุบันนี้มาก เพราะการนำเอา พลังงานไฟฟ้ามาใช้ในรูปแบบต่างๆ เช่น พลังงานกล พลังงานความร้อน พลังงานแสงสว่าง พลังงานเสียง ทำให้มนุษย์ มีความสะดวกสบายในการประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิตประจำวัน
ขอบข่ายของงานไฟฟ้าเป็นการนำความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับงานไฟฟ้า โดยใช้ทักษะกระบวนการทำงาน ไฟฟ้ามาปฏิบัติเกี่ยวกับการเดินสายไฟฟ้า การต่อวงจรไฟฟ้า สวิตช์ ปลั๊ก ดวงโคมส่องสว่าง การซ่อมแซมเครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้า การเลือกซื้อเครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัยประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติงานไฟฟ้า มีดังนี้
1. สามารถใช้เครื่องมืองานช่างไฟฟ้าได้ถูกต้อง ถูกวิธี และปลอดภัย
2. สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับงานไฟฟ้าภายใน ภายนอกบ้าน
3. สามารถสร้างหรือผลิต ซ่อมแซมปรับปรุงแก้ไขชิ้นงาน เครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้าได้ถูกต้องและปลอดภัย
4. ส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องราวของเทคโนโลยี และเสริมสร้างการใช้ไฟฟ้าได้อย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
5. ช่วยลดปัญหาการเกิดอัคคีภัยจากไฟฟ้าลัดวงจร
6. เป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ เพื่อการประกอบอาชีพต่อไป
ตัวอย่างการปฏิบัติงานไฟฟ้าในบ้าน การซ่อมดวงโคมส่องสว่าง (หลอดฟลูออเรสเซนต์)
ปัญหาหรือความต้องการ คือ เปิดสวิตช์แล้วดวงโคมส่องสว่าง (หลอดฟลูออเรสเซนต์) ไม่ส่องสว่าง
การวิเคราะห์งาน
1. ตรวจสอบระบบไฟฟ้าทั้งระบบ ได้แก่ แผงเมนสวิตช์ สวิตช์เปิด-ปิดและระบบสายไฟฟ้า และองค์ประกอบของดวงโคมส่องสว่าง (หลอดฟลูออเรสเซนต์)
2. สรุปสาเหตุ คือ ดวงโคมส่องสว่าง (หลอดฟลูออเรสเซนต์) ไม่ส่องสว่าง เพราะในระบบใดระบบหนึ่งเกิดการบกพร่อง
3. ประเมินทางเลือก คือ ตัดสินใจซ่อมดวงโคมส่องสว่าง (หลอดฟลูออเรสเซนต์) ด้วยตนเอง
4-21 การวางแผนการทำงาน
1. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการซ่อมดวงโคมส่องสว่าง
(หลอดฟลูออเรสเซนต์)
2. จัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ เช่น ไขควงเช็คไฟ ไขควงปากแฉก ไขควงปากแบน มีดคัตเตอร์ คีมปอกสายไฟฟ้า เป็นต้น
3. ศึกษาวิธีการซ่อมดวงโคมส่องสว่าง (หลอดฟลูออเรสเซนต์) จากคู่มือ
4-22 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
1. ตรวจสอบแผงเมนสวิตช์ สายไฟฟ้าเข้า-ออก
2. ตรวจสอบสวิตช์เปิด-ปิดของดวงโคมส่องสว่าง (หลอดฟลูออเรสเซนต์) ด้วยไขควงเช็คไฟ ปรากฏว่ามีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน
4-243. ตรวจสอบองค์ประกอบของดวงโคมส่องสว่าง (หลอดฟลูออเรสเซนต์) ได้แก่ บัลลาสต์สตาร์ตเตอร์ และตัวดวงโคมส่องสว่าง (หลอดฟลูออเรสเซนต์) ถ้าที่ขั้วสตาร์ตเตอร์ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน แสดงว่าสตาร์ตเตอร์เสีย
4-234. ถอดสตาร์ตเตอร์ออกจากช่องสตาร์ตเตอร์ โดยการหมุนทวนเข็มนาฬิกา และนำสตาร์ตเตอร์ตัวใหม่ใส่เข้าแทนที่ โดยหมุนตาม เข็มนาฬิกา ทดสอบการไหลของกระแสไฟฟ้า ถ้ากระแสไฟฟ้าไหลตามปกติ แต่หลอดไฟยังไม่สว่างให้เปลี่ยนหลอดไฟใหม่
5. ประเมินผลการทำงาน ทดลองเปิดสวิตช์ไฟฟ้าของดวงโคมส่องสว่าง (หลอดฟลูออเรสเซนต์) หลอดไฟมีแสงสว่าง
6. จัดเก็บเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ และทำความสะอาดบริเวณสถานที่ ปฏิบัติงาน
แหล่งที่มา You are not allowed to view links.
Register or
Login